Posts

Image
บรรยาย online ครั้งที่ 3 - วันที่ 31 มีนาคม 2564  🏀จิต กับ เจตสิกในอภิธรรม: น้ำ กับ คุณสมบัติของน้ำ (หมายเหตุ: ข้อมูลนี้เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 ในคราวได้รับเชิญไปสอนวิชาอภิธรรมแก่นิสิตระดับ ป. โท ณ ประเทศฮังการี) "ผมชวนนิสิตตั้งคำถามว่า ทำไมคัมภีร์อภิธรรมนำเสนอจิตและเจตสิกของเราทั้งด้านลบ (อกุศล) ด้านบวก (กุศล) และที่น่าสังเกตคือ ทำไมอภิธรรมนำเสนอจิตระดับกามาวจร (sensual sphere) มากเป็นพิเศษ กำลังจะสื่ออะไร เป็นไปได้ไหมว่า สัตว์โลกส่วนใหญ่อยู่ในกามโลก (sensual world) และตลอดช่วงชีวิตของแต่ละคน ส่วนใหญ่เราก็อยู่ในกามโลกนี่เอง และการที่อภิธรรมนำเสนอจิตและเจตสิกของเราทั้งด้านลบและด้านบวก นั่นหมายความว่า จริงอยู่ชีวิตเรามีด้านมืด/ด้านลบ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องจนตรอกหรือสิ้นหวัง เพราะเรายังมีด้านสว่าง/ด้านบวกอยู่ควบคู่กัน ตรงนี้ทำให้เรามีความหวังว่า สักวันหนึ่งเราจะสามารถต่อยอดด้านสว่างจนถึงขั้นสว่างที่สุด ผมอธิบายด้วยภาษาที่ทำให้มองเห็นภาพ (figurative language) ว่า จิต กับ เจตสิก ก็เหมือนน้ำ กับ คุณสมบัติของน้ำ โดยธรรมชาติแล้ว น้ำก็คือน้ำ เราสามารถปรุ่งแต่งน้ำให้มีคว...
Image
บรรยาย online ครั้งที่ 2 - วันที่ 23 มีนาคม 2564  🏀 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอภิธรรม (๒) อภิธรรมปิฎกเป็นหมวดหมู่คัมภีร์ที่กว้างใหญ่ไฟศาลมากยากที่จะศึกษาให้เข้าใจอย่างครบถ้วนและครอบคลุมได้ อย่างที่ทราบกัน อภิธรรมปิฎกสายเถรวาทแบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี, วิภังค์, ธาตุกถา, ปุคคลบัญญัติ, กถาวัตถุ, ยมก, และปัฏฐาน มองเผินๆ ดูเหมือนคัมภีร์เหล่านี้แตกต่างกันมาก แต่แก่นหรือใจความสำคัญของทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกัน นั่นคือ ขันธ์๕ หรือนามรูป เพียงแต่ขันธ์ ๕ ถูกนำเสนอด้วยวิธีการแตกต่างกัน จึงกลายเป็นอภิธรรม ๗ คัมภีร์ กล่าวได้ว่า คัมภีร์อภิธรรมปิฎกเป็นลักษณะที่เรียกกันว่า “เอกภาพในความหลากหลาย” วิธีการหลักที่ถูกนำมาใช้ในการนำเสนอเน้ือหาอภิธรรม ๒ คือ (๑) วิธีการแบบวิเคราะ์แยกแยะ (Analytical method) ซึ่งวิเคราะห์หรือลดทอนองค์ประกอบต่างๆ ของขันธ์ ๕ ลงไปหาหน่วยมูลฐานของมัน เรียกว่า “ธรรม” เพื่อให้เห็นความไม่มีแก่นสารหรือตัวตนที่ซ่อนอยู่ในนั้น และ (๒) วิธีการแบบสังเคราะห์ (Sythetical method) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมต่างๆ ที่ถูกวิเคราะห์แยกย่อยนั้น. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิโร 🏀 What shoul...
Image
บรรยาย online ครั้งที่ 1 - วันที่ 16 มีนาคม 2564  🏀 ข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับอภิธรรม เชื่อกันว่า นิกายพระพุทธศาสนายุคแรกต่างก็สืบทอดคัมภีร์อภิธรรมปิฎกฉบับของตนเอง แต่ปัจจุบันมีฉบับสมบูรณ์เพียง 2 ฉบับเท่านั้นที่ยังคงรักษาสืบทอดไว้ได้ ดังนี้- 🏀 What should be known about Abhidhamma It is customarily assumed that the multiple ancient Buddhist schools transmitted their own versions of Abhidharma collections, but only two complete canonical collections are preserved. [1] อภิธรรมปิฎกนิกายสรวาสติวาท มี 7 คัมภีร์ ปัจจุบันยังเหลืออยู่เฉพาะฉบับแปลภาษาจีนโบราณ ประกอบด้วย (1) สังคีติปรยายะ คัมภีร์ว่าด้วยการสังคายนา (2) ธรรมสกันธ์ คัมภีร์ว่าด้วยกองแห่งธรรม (3) ปรัชญัปติศาสตร์ คัมภีร์ว่าด้วยเรื่องบัญญัติ (4) วิชญานกาย คัมภีร์ว่าด้วยหมวดหมู่แห่งวิญญาณ/จิต (5) ธาตุกาย คัมภีร์ว่าด้วยหมวดหมู่แห่งธาตุ (6) ปฺรกรณปาทะ คัมภีร์ว่าด้วยการอธิบายปกรณ์ และ (7) ชญานปรัสถาน คัมภีร์ว่าด้วยฐานที่ตั้งแห่งความรู้ [1] The Sarvāstivādin Abhidharma-piṭaka consists of seven texts surviving in full only in their ancie...