บรรยาย online ครั้งที่ 2 - วันที่ 23 มีนาคม 2564 

🏀 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอภิธรรม (๒)

อภิธรรมปิฎกเป็นหมวดหมู่คัมภีร์ที่กว้างใหญ่ไฟศาลมากยากที่จะศึกษาให้เข้าใจอย่างครบถ้วนและครอบคลุมได้ อย่างที่ทราบกัน อภิธรรมปิฎกสายเถรวาทแบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี, วิภังค์, ธาตุกถา, ปุคคลบัญญัติ, กถาวัตถุ, ยมก, และปัฏฐาน

มองเผินๆ ดูเหมือนคัมภีร์เหล่านี้แตกต่างกันมาก แต่แก่นหรือใจความสำคัญของทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกัน นั่นคือ ขันธ์๕ หรือนามรูป เพียงแต่ขันธ์ ๕ ถูกนำเสนอด้วยวิธีการแตกต่างกัน จึงกลายเป็นอภิธรรม ๗ คัมภีร์ กล่าวได้ว่า คัมภีร์อภิธรรมปิฎกเป็นลักษณะที่เรียกกันว่า “เอกภาพในความหลากหลาย”

วิธีการหลักที่ถูกนำมาใช้ในการนำเสนอเน้ือหาอภิธรรม ๒ คือ (๑) วิธีการแบบวิเคราะ์แยกแยะ (Analytical method) ซึ่งวิเคราะห์หรือลดทอนองค์ประกอบต่างๆ ของขันธ์ ๕ ลงไปหาหน่วยมูลฐานของมัน เรียกว่า “ธรรม” เพื่อให้เห็นความไม่มีแก่นสารหรือตัวตนที่ซ่อนอยู่ในนั้น และ (๒) วิธีการแบบสังเคราะห์ (Sythetical method) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมต่างๆ ที่ถูกวิเคราะห์แยกย่อยนั้น.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิโร

🏀 What should be known about Abhidhamma (2)

Abhidhamma Pitaka is a huge and large collection of Theravada canonical texts, which is very difficult to study it conprehensively and thoroughly. As we know, Theravada Abhidhammma Pitaka is divided into seven books: Dhammasangaṇī (the enumeration of Dhammas), Vibhaṅga (the Book of Analysis), Dhātukathā (the Speech on the Elements), Puggalapaññatti (the Designation of Individuals), Kathāvatthu (the Points of Controversy), Yamaka (the Book of Pairs), and Paṭṭhāna (the Book of Causal Conditions).

At first glance, it seems that these books are very different from each other, but their essence or subject matter is the same, that is, the five aggregates (pañca-khandha) or “mind-and-matter” (nāmarūpa). It is only that the five aggregates are presented in different ways, so there become the seven books of Abhidhamma Pitaka. It can be said that the Abhidhamma Pitaka is what we call “unity in diversity”.

There are two main methods that are used to present the contents of Abhidhamma: (1) Analytical method: By this method, the five aggregates are analyzed or reduced into their elementary constituents called “dhammas” so that we can realize the nature of non-substance or selflessness within them; and (2) Synthetical method: By this method, the analyzed or reduced dhammas (elementary constituents) are synthesized to show the conditional relations among them.

Phramaha Somboon Vuddhikaro




Comments

Popular posts from this blog